TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง มาตรการในการบังคับใช้ทางกฎหมาย กรณีศึกษาเมาสุราแล้วขับรถ บนท้องถนน เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
LEGAL ENFORCEMENT SANCTIONS IN THE CASE OF DRUNKENNESS AND DRIVING ON THE ROAD CAUSING DEATH TO ANOTHER PERSON ACCORDING TO THE ROAD TRAFFIC ACT B.E. 2522
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามาตรการการลงเพิ่มโทษผู้ขับรถขณะเมาสุราให้ชัดเจน 2) เพื่อศึกษามาตรการในการบังคับใช้ของกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมาย กรณีผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุรา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่ลงโทษผู้กระทำความผิดเทียบเท่าสากลแล้ว กฎหมายไทยที่บังคับใช้ในการควบคุมปัญหาการดื่มสุราแล้วขับรถบนท้องถนน โดยการควบคุมการจำหน่ายและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีมาตรการลงโทษที่รุนแรงขึ้น สำหรับความผิดในการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่ยานพาหนะหรือผู้ที่กระทำความผิดซ้ำนั้น บทกฎหมายได้บัญญัติเพิ่มโทษแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะในขณะเมาสุรา อันจะเป็นมาตรการในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ที่เกิดจากผู้ขับขี่รถขณะเมาสุรา เพราะผู้กระทำความผิดอาจเล็งเห็นได้ว่า การขับรถในขณะมึนเมาสุรา อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนเองและผู้อื่น เห็นว่าการเพิ่มอัตราโทษทางกฎหมายให้สูงขึ้น ย่อมเป็นการแก้ไขปัญหาเพื่อยับยั้งการกระทำความผิดซ้ำได้ การแก้ไขปัญหาการลดอุบัติเหตุส่วนหนึ่งมาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถขณะมึนเมาสุรา เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายยังมีอัตราลงโทษไม่เหมาะสมกับลักษณะของผู้กระทำความผิด จึงเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อลงโทษผู้ขับขี่ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติไม่กระทำการขับขี่ในขณะเมาสุราและไม่ให้กลับมากระทำผิดซ้ำอีก
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This study aims to find ways to develop penalties for people who perform driving while intoxicated. To reduce road accidents caused by drunk drivers, law enforcement can reduce accidents and deaths. To address the reduction of accidents, this is partly due to laws relating to driving a car while intoxicated. The law also has penalty rates that do not fit the character of the offender. The results showed that Thailand already has laws that punish offenders of international equivalents. Thai laws governing the problem of binge drinking and driving on the road by controlling the distribution and drinking of alcoholic beverages. In addition, the amendments to the law have been revised tougher penalties. For offences of drinking alcohol while driving a vehicle or for repeat offences. The legislation increases penalties for motorists while drunk, which is a measure to prevent accidents caused by motorists while drunk, as offenders may foresee that driving while intoxicated can cause damage to themselves and others. It is deemed that increasing the legal penalty rate will solve the problem to deter repeat offences. The recommendations of this study propose to revise the Land Traffic Act B.E. 2522 (1979). To increase penalty rates, fight up, punish drivers for changing their behavior and attitudes, not driving while drunk and not to repeat their crimes
ผู้แต่ง เฉลิมฤทธิ์ สามาดี
บัณฑิต
ขวาโยธา
ปรีชา
พันธ์สีดา
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร วารสารวิชาการปัญญาปณิธาน
ปีที่ : 6

ฉบับที่ : 1
หน้า 147-160
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ การบังคับใช้ทางกฎหมาย; เมาแล้วขับรถ
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เมาแล้วขับ; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; กฎหมายจราจร; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; ประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมาย; ปัญหาอุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/250855
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 11 สิงหาคม 2565