TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
Prevalence and Associated Factors of Motorcycle Accident Among Senior High School Students in Phukieo District, Chaiyaphum Province
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางด้วยจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่การศึกษา 30 จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เดินทางด้วยจักรยานยนต์ไปโรงเรียนทั้งสิ้น จำนวน 991 คน โดยศึกษาในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 มกราคม พ.ศ. 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Multiple Logistic Regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า มีนักเรียนตอบแบบสอบถาม จำนวน 920 คน (ร้อยละ 92.7) จำแนกเป็นกลุ่มที่เคยเกิดอุบัติเหตุ จำนวน 114 คน หรือมีความชุกของการเกิดอุบัติเหตุร้อยละ 12.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ความเร็วมากกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ORadj=3.01, 95%CI=1.97-4.58, p<0.001) การขับขี่รถจักรยานยนต์ที่โดยมีคนนั่งเกิน 2 คน (ORadj=2.00, 95%CI=1.18-3.38, p=0.001) รถจักรยานยนต์ไม่มีกระจกมองข้าง หรือมีแต่ใช้การไม่ได้ (ORadj =3.43, 95%CI=2.08-4.89, p= 0.005) ข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการจราจร สร้างความตระหนักถึงอันตรายและวิธีป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขับขี่รถจักรยานยนต์ การอบรมทำใบขับขี่ให้นักเรียน พร้อมทั้งจัดให้มีการตรวจสภาพของรถจักรยานยนต์ของนักเรียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่ารถจักรยานยนต์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This research was cross-sectional analytical research for finding the prevalence and factor associated with motorcycle accident among high school students in the Secondary Education Service Area Office Chaiyaphum (Area 30th), Chiyaphum province. The sample consisted of 991 high school students who rode motorcycles to school. This study surveyed the accident occurring during January 1, 2019 to January 30, 2020. Data were collected by using a self-answer of questionnaire. The data were analyzed by using the multiple logistic regressions and presented as adjusted odd ratio (ORadj) with 95% confidence interval. The research got about 920 participants of the completed questionnaires (92.7%). The results showed that the prevalence of motorcycling accidents was 114 students (12.4%). The factors significantly associated with motorcycling accidents were speed of driving with more than 80 km./hr. (ORadj=3.01, 95%CI=1.97-4.58, p<0.001), driving a motorcycle for more than 2 persons (ORadj=2.00, 95%CI=1.18-3.38, p=0.005), motorcycle without side view mirror or not working ​​(ORadj =3.43, 95%CI=2.08-4.89 p< 0.001). Suggestions, it should give the knowledge of traffic law, raise awareness of danger, motorcycling accident prevention, driving license training with motorcycle inspection once a year to ensure that the motorcycle is in working condition.
ผู้แต่ง ภูมิพัฒน์ ล้นเหลือ
เลิศชัย
เจริญธัญรักษ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2022
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2565
วารสาร วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน
ปีที่ : 8

ฉบับที่ : 3
หน้า 119-130
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ อุบัติเหตุ; จักรยานยนต์; นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; การใช้ความเร็ว; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ใบขับขี่; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การทดสอบความปลอดภัยของยานพาหนะ; กฎหมายจราจร; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/255885
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 17 พฤศจิกายน 2565