ชื่อเรื่อง |
การนำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย PROPOSED GUIDELINES FOR DEVELOPING A HEALTH LITERACY PROMOTING MODEL TO PREVENT ROAD ACCIDENTS FROM MOTORCYCLING AMONG UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS |
บทคัดย่อ (ไทย) |
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการประยุกต์ใช้กระบวนการวางแผนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นฐานในการพัฒนา และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่ได้คือ STRIVE Model ประกอบด้วย 1) ความสำคัญและวัตถุประสงค์ (S: Significance and objective) 2) ข้อกำหนดและเงื่อนไข (T: Term and condition)
3) การเตรียมความพร้อม (R: Ready to start) 4) แผนกิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ
(I: Improve health literacy activity plan) ซึ่งบูรณาการเข้ากับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ มุ่งเน้นการเรียนรู้เชิงรุกให้ผู้เรียนเป็นคนกล้าคิด กล้าตัดสินใจ คิดอย่างรอบคอบ มีเหตุผล มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม หรือเป็นบุคคลที่มีความมุ่งมั่นพยายาม (Striver) 5) การตรวจสอบและการประเมินผล (V: Verification and evaluation) และ 6) การจัดการที่มีประสิทธิภาพ (E: Effective management) สำหรับการประเมินคุณภาพของรูปแบบอยู่ในระดับดีมาก การศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสู่การปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมความปลอดภัยและนำไปสู่การลดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ต่อไ
[+][-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
The objective of this research article were to develop a health literacy promoting model to prevent road accidents from motorcycling among upper secondary school students. This descriptive research consisted of 2 steps: 1) develop the model with the concept of health literacy together with the application of intervention mapping as a base for development; and 2) study the quality of the model from 5 experts by purposive sampling. The data were analyzed using mean and standard deviation. The major findings revealed that the STRIVE Model has the following components: 1) S: Significance and objective 2) T: Terms and Conditions 3) R: Ready to start 4) I: Improve health literacy activity plan with 8 integrated learning management plans that integrate with learner development activities in secondary schools that focus on active learning for students to be brave, dare to make decisions, think carefully, rationally, have the ability to think and analyze data appropriately, or being as a striver person. 5) V: Verification and evaluation 6) E: Effective management. The overall quality assessment of the developed model was at a very good level. Therefore, this research suggests that the developed model should be implemented in order to provide students with health literacy with safety behaviors and lead to the reduction of motorcycle accidents.
[-] |
ผู้แต่ง |
ธญยธร แฝงฤทธิ์
จักรกฤษณ์ พลราชม
|
วารสาร |
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ
ปีที่ : 7
ฉบับที่ : 7 |
คำสำคัญ |
การพัฒนารูปแบบ; ความรอบรู้ด้านสุขภาพ; การขับขี่รถจักรยานยนต์; นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย; กระบวนการวางแผนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ |