ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความชุกอุบัติเหตุของการขับขี่รถจักรยานยนต์ ในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย Factors Affected to Prevalence Accident of Motorcycle Rider among Senior High School Students in Muang District, Sukhothai Province |
บทคัดย่อ (ไทย) |
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey study) เพื่อศึกษาความชุกจากอุบัติเหตุของการขับขี่รถจักรยานยนต์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์แบบไคสแควร์
จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทั้งสิ้น 860 คน ความชุกของการเกิดอุบัติเหตุในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาคือ ร้อยละ 28.60 ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ กลุ่มที่เคยเกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ ตามลำดับ กลุ่มที่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับปานกลาง ระดับสูง และระดับต่ำ ตามลำดับ กลุ่มที่เคยเกิดอุบัติเหตุและกลุ่มไม่เคยเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ทัศนคติที่ดีในระดับสูง ระดับปานกลาง พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ในกลุ่มที่เคยเกิดอุบัติเหตุและในกลุ่มที่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่มีการปฏิบัติทุกครั้ง 3 อันดับแรกคือ ไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมาก่อนการขับขี่ ปรับกระจกส่องหลังให้ชัดเจนและลดความเร็วหรือชะลอความเร็วทุกครั้งเมื่อถึงทางโค้งทางแยก ในขณะที่พฤติกรรมการขับขี่ในกลุ่มที่เคยเกิดอุบัติเหตุและในกลุ่มที่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ปฏิบัติ 3 อันดับแรกคือ สูบบุรี่ในขณะขับขี่ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟสีแดง ขับรถจักรยานยนต์โดยไม่สนใจป้ายเตือน ตามลำดับ เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ขับขี่และพฤติกรรมไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมาก่อนการขับขี่ คุยโทรศัพท์ขณะขับขี่ ขับขี่ในขณะฝนตก ลดความเร็วหรือชะลอความเร็วทุกครั้ง เมื่อพบกับสภาพถนนที่ขรุขระ เป็นหลุมทราย และถนนเปียกลื่น ลดความเร็วหรือชะลอความเร็วทุกครั้งเมื่อถึงทางโค้งทางแยก ขับขี่ขับรถย้อนศรและขับรถจักรยานยนต์โดยไม่สนใจป้ายเตือน มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.0
[+][-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
This research is a survey research in order to study prevalence accident from motorcycle rider and factors related to accident from motorcycle rider among senior high school students in Muang district, Sukhothai province Data were collected by questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics, and Pearson chi-square test.
The results showed that 860 samples of the students. The prevalence of accident in a year ago was 28.60 %. The level of knowledge about motorcycle rider was in accident group were high medium, and low levels, respectively. The level of knowledge about motorcycle riding was in non-accident group were medium, high and low levels, respectively. Mostly, both of accident group and non-accident group are mostly high level of good riding attitude and medium level of good riding attitude, respectively. Behavior of motorcycle riding were in accident group and non-accident group which always doing while riding in top 3 were such as do not drink alcohol or alcohol before driving, adjust the rearview mirror to clear before riding and reduce speed or slow down every time when arrive crossroad& However, behavior of motorcycle riding were in accident group and non-accident group which never doing while riding in top 3 were such as smoking while riding, violates the prohibit of traffic law and riding a motorcycle with do not interesting of traffic sigh, respectively. Factors were associated statistically significant
(p-value = 0.050), including, sex, educations, experience of riding, call mobile phone while riding, riding while raining, reduce speed or slow down every time when the road is not safety (rough, sand and slippery or wet road) reduce speed or slow down every time when arrive crossroads and riding a motorcycle with do not interesting of traffic sig
[+][-] |
หน่วยงาน |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
คำสำคัญ |
ความชุก ; ปัจจัยเสี่ยง ; อุบัติเหตุ; นักเรียนมัธยมปลาย ; ขับขี่รถจักรยานยนต์ |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เมาแล้วขับ; การใช้ความเร็ว; การฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร; การขับขี่ย้อนศร; การใช้โทรศัพท์; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; เครื่องหมายและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย; มาตรการลดความเร็วของยานพาหนะ (Traffic calming; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ |