TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง กรณีศึกษา: การหาสาเหตุการบาดเจ็บจากรถตู้โดยสารประจำทางชนต้นไม้ จังหวัดพัทลุง
A Case Study on Public Transportation and Road Safety: Why so Many Passengers' Injuries from Van Crashes onto Trees?
บทคัดย่อ (ไทย) การหาสาเหตุการบาดเจ็บจากรถตู้โดยสารประจำทางชนต้นไม้ จังหวัดพัทลุง ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาการบาดเจ็บ ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต และหาข้อเสนอแนะการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากรถตู้โดยสารประจำทางชนต้นไม้ ศึกษาในกลุ่มประชากรประกอบด้วยผู้ประสบเหตุการณ์ ผู้เห็นเหตุการณ์ ญาติผู้บาดเจ็บ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับผู้บาดเจ็บ ณ วันที่เกิดเหตุการณ์ จำนวน 24 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบสวนการบาดเจ็บจากการจราจร โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลการบาดเจ็บจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล ร่วมกับสำรวจสถานที่เกิดเหตุ และสำรวจสภาพรถ วิเคราะห์การบาดเจ็บ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์สรุปข้อมูลปัจจัยเสี่ยงด้านคน ยานพาหนะ และสิ่งแวดล้อม โดยประยุกต์แนวคิด Haddon’s Matrix ผลการวิจัยพบว่า เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับพาหนะ 2 คัน มีผู้ประสบเหตุ 15 ราย เป็นผู้ขับขี่รถกระบะ 1 ราย และผู้ขับขี่ และผู้โดยสารรถตู้โดยสารประจำทาง 14 ราย (บาดเจ็บ 13 ราย และเสียชีวิต 1 ราย) อัตราการบาดเจ็บร้อยละ 93.3 อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 6.7 อุบัติเหตุเกิดจากรถกระบะเสียหลักชนรถตู้ประจำทาง ทำให้รถตู้โดยสารชนต้นไม้ในร่องกลางถนนทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงด้านคน ได้แก่ ขับรถด้วยความเร็ว รถเข้าเลนขวากระทันหัน ผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และกระเด็นออกจากรถ ปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ ได้แก่ เข็มขัดนิรภัยหลุดจากที่นั่ง โครงสร้างรถเสียหาย ผู้โดยสารติดภายในรถ และปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สภาพถนนเปียก มีต้นไม้บริเวณร่องเกาะกลาง รถชนต้นไม้ ถนนเส้นนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย และเข้าถึงที่เกิดเหตุลำบาก ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคว [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This case study aimed to identify epidemiology and factors for traffic injuries and deaths caused to passengers when public transportation vans crash onto trees. Research was executed in Phatthalung from 14 to 16 September, 2018. Participants were 24 people being either victims, eyewitnesses, health staff, or emergency and rescue agents. Data were collected using traffic injury investigation forms. Methods for epidemiological investigation were used to interview nurses, rescue teams, and injured who survived from these accidents, to collect data from medical documents, and to survey at the scene and the vehicle together with multidisciplinary team. Data were analyzed by descriptive statistics. Analytic induction was used to analyze the factors by using Haddon’s Matrix. Environmental risks included: a) drenched roads, b) trees in safety zone, c) crash onto trees, d) black spot areas, and e) difficulty of access.Therefore results involved 2 vehicles with 15 victims, including 1 pickup truck driver, and 14 victims in the van (13 injuries and 1 death). At the scene, a person died (6.7%) and 13 people were injured (93.3%). This accident occurred because a pickup truck ran off the road and hit a van, so the van fell into the middle of the road area and hit trees, causing severe injuries and death. Human error-related factors included speeding, and sudden change of lane. Passenger risks included non-use of seat belt, being ejected out of the van, and being stuck in vehicle. Vehicu [+]
ผู้แต่ง นันทพร กลิ่นจันทร์
นันทนา
ศุภศรี
อาซิป
อูเซ็ง
เอกอร
สว่างนิพันธ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
ปีที่ : 8

ฉบับที่ : 2
หน้า 26-38
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ กรณีศึกษา; การหาสาเหตุ; การบาดเจ็บจากการจราจร; รถตู้โดยสารประจำทาง
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; การใช้ความเร็ว; เข็มขัดนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; ความปลอดภัยบริเวณข้างทาง (Roadside safety); กฎหมายจราจร; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/240233
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 06 กรกฎาคม 2565