ชื่อเรื่อง |
ประสิทธิผลของการบริหารกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก The Effectiveness of Managing the Road Safety Fund of the |
บทคัดย่อ (ไทย) |
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพประสิทธิผลของการบริหารกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนกรมการขนส่งทางบก 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก และ 3) เพื่อนำเสนอประสิทธิผลในการบริหารกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบายและผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ จำนวน 4 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 8 คน และ Focus Group Discussions ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่าสภาพประสิทธิผลของการบริหารกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนกรมการขนส่งทางบกพบว่า ในการบริหารกองทุนจะกระทำโดยคณะกรรมการกองทุน จะมีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงพลวัตรระหว่างเป้าหมายของกองทุน คณะกรรมการบริหาร กฎหมายที่เกี่ยวข้องและนโยบายรัฐบาล การวัดผลความสำเร็จหรือผลสัมฤทธิ์จะสัมพันธ์กับความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนที่ลดลงจากการที่สามารถแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งวัดได้ในแต่ละปีของแต่ละช่วงเทศกาลสำคัญซึ่งมีอัตราลดลง แต่ยังนับว่าเป็นปัญหาสำคัญอยู่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ยังเป็นปัญหาที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นนโยบายแห่งชาติตลอดมาผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก ประกอบด้วย 1) ระบบการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ซึ่งจะเป็นการสร้างความสามารถในการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน ต้องจัดระบบบริหารธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่าจะปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีอย่างเคร่งครัด ยึดมั่นและปฏิบัติให้ถูกต้อง กำหนดแนวทางวัดประเมินผลการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อยกระดับคุณภาพในการป้องกันผู้ใช้รถใช้ถนนรวมทั้งจากทุกภาคส่วนในการทำงานร่วมกันทั้งภาคนโยบาย ภาคการเมือง ภาครัฐ และภาคเอกชน 3) การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและ 4) ความสามารถการรณรงค์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจราจรและความปลอดภัยในส่วนของผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่าประสิทธิผลในการบริหารกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก จะต้องมาจากความรับผิดชอบร่วมกันของทุกฝ่ายและต้องการสร้างระเบียบวินัยทางสังคม สร้างมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากลจึงจะทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุลดลงได้ตามเป้าหมายรวมทั้งต้องมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และ การปรับเปลี่ยนองค์กรในการบริหารกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งจะคำนึงถึงประเด็นสำคัญ ได้แก่ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ เพื่อให้ได้แนวทางในการบริหารที่สามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของประชาชนได้ ซึ่งเป็นการช่วยให้ลดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาค
[+][-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
The objectives of this research were 1) to study the effectiveness of managing the Road Safety Fund of the Department of Land Transport, 2) to study the factors influencing the effectiveness of managing the Road Safety Fund of the Department of Land Transport, and 3) to present the effectiveness of managing the Road Safety Fund of the Department of Land Transport. This study used a qualitative research through in-depth interviews and focus group discussions with experts including 4 policy makers and policy implementers, 8 stakeholders and 6 qualified persons. The results of the research to answer the objectives 1 indicated as follows: the effectiveness of managing the Road Safety Fund of the Department of Land Transport found that the fund management was done by the fund committee and was related to the dynamic relationship between the goals of the fund, the executive committee, relevant laws and government policies. The measurement of success or achievement was related to the safety of the road using that was reduced from being able to solve the problem of accidents in concrete ways. From the measurement of each year in important festival period, the rate of accident had reduced but it was still considered as a major problem. Therefore, it can be seen that this was still a problem that the government has set as a national policy. The results of the research to answer the objective 2 found that the factors that resulted in the effectiveness of managing the Road Safety Fund of The Department of Land Transport consisted of 1) Quality Management System (PDCA) which would create the ability to manage road safety by having an effective governance system to ensure that all parties were confident that they would perform in accordance with the good corporate governance policy strictly, adhering to the right practice, defining guidelines to evaluate the performance systematically and evaluating the result regularly. 2) Public participation to raise the quality of car users to use the road, including from all sectors to work together, including policy, political, public and private sectors. 3) Strict enforcement of laws to improve the behavior of car users using the road to achieve goals and 4) Ability to organize the campaign to provide knowledge and understanding about traffic and safety. As for the research results to answer the objective 3, it was found that the effectiveness of managing the Road Safety Fund of the Department of Land Transport Must came from the shared responsibility of all parties and social discipline, establishing international safety standards to reduce the incidence of accidents according to the target, including the use of digital technology to manage the funds for the safety of using roads, and changing the organization of managing the Road Safety Fund, which would take into account important issues, including objectives and strategies, to obtain management guidelines that can create efficiency and effectiveness in the safety on the road. This will sustainably help to reduce the economic and social losses of the community and the nation in a future
[+][-] |
วารสาร |
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ปีที่ : 22
ฉบับที่ : 1 |
คำสำคัญ |
การบริหารกองทุน; ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน; กรมการขนส่งทางบก |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; กฎหมายจราจร; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; บทบาทและการมีส่วนของภาคเอกชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; ความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ของอุบัติเหตุทางถนน |