TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง ผลกระทบของความเหนื่อยล้าต่อประสิทธิภาพการขับขี่
The Impact of Fatigue on Driving Performance
บทคัดย่อ (ไทย) จากสถิติอุบัติเหตุจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปี 2543 - 2547 พบว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากการหลับใน มีเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 60 ความเหนื่อยล้าเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่งผลกระทบต่อความตื่นตัว การรับรู้และตัดสินใจรวมถึงการประสานงานของระบบกล้ามเนื้อ และประสาทเสื่อมลงถึงแม้จะมีข้อมูลสนับสนุน แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ทำการศึกษาอย่างจริงจัง อีกทั้งยังไม่มีเครื่องมือใดๆ สามารถตรวจสอบความเหนื่อยล้า เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ ผู้ศึกษาจึงเกิดความสนใจที่จะทำ การศึกษาผลกระทบของความเหนื่อยล้า ต่อประสิทธิภาพการขับขี่การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ในกลุ่มผู้มีอาชีพขับรถบรรทุก โดยเปรียบเทียบความเหนื่อยล้าต่อประสิทธิภาพการขับขี่ก่อนและหลัง จากการขับรถทางไกล โดยใช้เครื่องจำลองการขับขี่ เพื่อความปลอดภัยของผู้ร่วมวิจัยและเพื่อสามารถบันทึกประสิทธิภาพการขับขี่ได้ การทดสอบใช้ระยะเวลาในการขับเครื่องจำลองการขับขี่ 4 ชั่วโมงครึ่ง ในระยะก่อนและหลังการขับรถบรรทุกจริงเป็นเวลา 5 ชั่วโมง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทางระบบประสาทและพฤติกรรมโดยใช้เครื่อง Electrooculogram และ Electromyogram จากผลการวิจัยพบว่า ภายหลังผู้ที่ขับขี่ทางไกลเกิดความเหนื่อยล้าจากการขับรถด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นมีผลทำให้ปฏิกิริยาการรับรู้และการตอบสนอง (Reaction time) ใช้เวลานานขึ้น การขับรถด้วยระยะเวลานานกว่า 60 นาที พบว่าจะใช้ความเร็วในการขับขี่สูงขึ้น นอกจากนี้ไม่ควรขับรถต่อเนื่องเกิน 6 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ถึงร้อยละ 62.5 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า หากมีความจำเป็นต้องขับรถทางไกล ผู้ขับขี่ควรเตรียมความพร้อมทางร่างกายโดยนอนหลับอย่าง น้อย 7 ชั่วโมง หรือไม่ควรขับรถนานเกินหนึ่งชั่วโมงสำหรับผู้ [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Fatigue is part of driver’s distraction, which is a major contributor to highway crashes, because it is important factor inducing loss of concentration. However, the influences of fatigue on traffic accidents is undermined because of the fact that the concept of fatigue is still muddled and in reality, it is difficult to measure these parameters. This research work is directed to the further understanding about the impact of fatigue on driving performance by detecting the physiological and neuro-behavioral changes. Participants are allowed to drive on a driving simulator for several hours. Physiological changes of the participants are measured in terms of PIEV, speeding pattern, lane tracking, crash and near-miss crashes. Neuro-behavioral changes are monitored by using Electromyogram, EMG and Electro-oculogram, EOG. It was known that, Thai drivers show a reduction in their EMG value due to fatigue. Like wise, the number of eye blinking (EOG value) is also reduced with increasing in longer duration of driving. In addition, it was also found that PIEV increased with fatigued drivers. Furthermore the fatigue study, it is found that continuous driving of more than six and a half hours increase the potential of accident. The findings of this research will help the policymaker to prepare the guideline and regulation related with the maximum durations of continuous driving. The results can also be used for positioning the rest areas along the roadside for long-haul drivers.
ผู้แต่ง นันทวรรณ ทิพยเนตร
ยอดพล
ธนาบริบูรณ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2008
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2551
สัมมนา ประชุมวิชาการ การขนส่งแห่งชาติ
ครั้งที่ : 3
จำนวนหน้า
ประเภทเอกสาร บทความงานสัมมนาวิชาการ
ประเภทของงานสัมมนา ภายในประเทศ
คำสำคัญ ความเหนื่อยล้า; เครื่องจำลองการขับขี่; ประสิทธิภาพการขับขี่ Electrooculogram; Electromyogram
หมวดหมู่ ความอ่อนล้าหรือง่วงนอน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 16 สิงหาคม 2557