TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์ความปลอดภัยรถตู้โดยสารสาธารณะ
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความปลอดภัยในการใช้บริการรถตู้ โดยสาร และสารวจสภาพรถตู้โดยสาร สภาพคนขับ พฤติกรรมการขับขี่ เก็บข้อมูลโดยการใช้ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารและผู้ใช้บริการ รวมทั้งการสารวจ สภาพโดยทั่วไปของรถ การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของการให้และใช้บริการ รถตู้โดยสารสาธารณะ ใช้วิธีวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Correlation Analysis) มาวิเคราะห์แนวโน้ม ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการขับขี่และความรู้สึกปลอดภัยของผู้โดยสาร และนาวิธีการวิเคราะห์ ปัญหาและสาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการขับรถเร็วเกินกาหนด พฤติกรรมการขับรถไม่สุภาพ มี แนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับความรู้สึกไม่ปลอดภัยในขณะนั่งรถตู้โดยสารอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ (Hand Free) มีแนวโน้ม ที่จะสัมพันธ์กับความรู้สึกไม่ปลอดภัยในขณะนั่งรถตู้โดยสารอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นแนวทางการแก้ไขให้ผู้โดยสารมีความรู้สึกปลอดภัยเพิ่มขึ้นในขณะโดยสาร คือ การปรับปรุง พฤติกรรมของผู้ขับขี่ ด้านการใช้ความเร็ว และลักษณะการขับขี่ที่ไม่สุภาพ เพื่อทาให้ผู้โดยสารมี ความรู้สึกปลอดภัยในขณะโดยสารเพิ่มมากขึ้น เมื่อวิเคราะห์ด้วยแผนผังสาเหตุและผล พบว่าปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุเกิดมาจาก 4 ปัจจัย หลัก คือ คนขับ รถ ถนน และสถานการณ์แวดล้อม ทั้งนี้กฎหมายจะเป็นปัจจัยสาคัญที่สามารถ ควบคุม ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุทั้ง 4 ปัจจัยหลักให้สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลงได้
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The objectives of this study are to explore the safety of the public van services and to investigate the condition of the van, the driver’s behavior and the behavior and the passengers’ feeling of safety toward the services. The data was collected by the questionnaires and interview. The sample consisted of the entrepreneurs and passengers. The condition of the van was also investigated. The data was analyzed, using correlation analysis to explore the relationship between the drivers’ behaviors and the passengers’ feeling of safety. The cause and effect diagram was used. The results revealed that the drivers’ behavior on “speeding behavior” and “lack of driving disciplines” are correlated to the passengers’ feeling safety at the statistically difference at .01 level. The behavior on “using cell phone without hand free device” is correlated to the passengers’ feeling safety at the statistically difference at the .05 level. The recommendations for providing the services to promote the passenger’s safety are to modify the drivers’ behavior on “speeding behavior” and “lack of driving disciplines”. The cause and effect diagram analysis revealed that the four main cause of accident are the driver, the vehicle, road and circumstances. The rules and regulations can be considered to be the most effective factor to reinforce and be more aware of the four main causes in reducing accidents.
ผู้แต่ง วีรยา อุทยารัตน์
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ภาควิชา และคณะ สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รูปแบบผลงาน วิทยานิพนธ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2013
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2556
จำนวนหน้า 148 หน้า
ประเภทเอกสาร สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
คำสำคัญ ความปลอดภัยในการใช้บริการรถตู้ โดยสาร; สำรวจสภาพรถตู้โดยสาร; พฤติกรรมการขับขี่ของคนขับรถตู้โดยสาร; การใช้ความเร็ว; ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุ
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; การใช้ความเร็ว; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; อุบัติเหตุรถโดยสาร
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2560