TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
Effects of Health Education Program of Motorcycle Accident Prevention Among Students in Rajamangala University of Technology Isan Nakhonratchasima
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา โดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายกลุ่มตัวอย่างจานวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 34 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ ประกอบด้วยการบรรยายประกอบสื่อวีดิทัศน์เกี่ยวกับอุบัติภัยจราจร การนำเสนอตัวแบบ การวิเคราะห์พื้นที่จุดเสี่ยงการอภิปรายกลุ่ม การสาธิตและการฝึกปฏิบัติ การแจกคู่มือ สติ๊กเกอร์ ระยะเวลาดาเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนำ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test กาหนดระดับนัยสาคัญที่ .05

ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของด้านความรู้ในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ การรับรู้ความรุนแรงของอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อพฤติกรรรมการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ ความตั้งใจในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ การปฏิบัติในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎจราจร สูงกว่าก่อนการทดลอง สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (pvalue<0.001)
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This study was quasi-experimental research and aimed to study the effects of health education program of motorcycle accident prevention among students in Rajamangala University of Technology Isan Nakhonratchasima by the application of promotion motivation theory. Samples were randomly selected, the samples were 68 students and divided into an experimental group and a comparison group, each group were 34 students. The experimental group was received health education program of motorcycle accident prevention. The implementations consisted of activities such as teaching with VCD media, modeling, meeting for making risk map, discussion, demonstration and practice, giving a hand book and stickers. The duration of implementation was 12 weeks. Data were collected by self-administrative questionnaires. Descriptive data were analyzed by descriptive statistics such as percentage, mean and standard deviation. Comparative analysis was used Paired Sample t-test and Independent t-test and significant setting at level 0.05

The results showed that after the experiment, the experimental group had mean scores of knowledge, perceived severity, perceivedsusceptibility, self-efficacy, response efficacy, intension and practice for motorcycle accident prevention were higher significantly than that before experimental group and comparison group (p-value<0.001)
ผู้แต่ง กานต์พิชชา หนูบุญ
พรรณี
บัญชรหัตถกิจ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2015
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2558
วารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
ปีที่ : 8

ฉบับที่ : 2
หน้า 1-9
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ โปรแกรมสุขศึกษา; การป้องกันอุบัติภัยจราจร; รถจักรยานยนต์; การสวมหมวกกันน็อค; ความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ
หมวดหมู่ การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 23 กุมภาพันธ์ 2560