TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง รายงานการศึกษา "การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs): กรณีศึกษาการใช้แนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มเยาวชนไทยเพื่อ เสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน”
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษา "การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs): กรณีศึกษาการใช้แนวคิประชาธิปไตย แบบมีส่วนร่วมในกลุ่มเยาวชนไทยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน” เป็นการศึกษานำร่องสถานศึกษาสองแห่งในจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดชัยนาท โดยใช้ตัวแบบกระบวนการมีส่วนร่วม เป้าหมายเพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนและนำเสนอรูปแบบการดำเนินการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่กรณีศึกษา อันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมกลุ่มเป้าหมายจากสถานศึกษาสองแห่งรวม 116 คน ได้เข้าร่วมกระบวนการมีส่วนร่วมโดยมีการวางแผน ออกแบบดำเนินการ และประเมินผลกิจกรรม มีผลผลิตรวมทั้งสิ้น 10 โครงการ พบว่า กลุ่มเป้าหมายสามารถหยิบยกสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาและจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางจราจรได้ โครงการส่วนใหญ่สอดคล้องกับมาตรการด้านการศึกษาและด้านวิศวกรรม โดยยังขาดโครงการที่สอดคล้องกับมาตรการด้านการบังคับใช้ และพบว่ากระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมทำให้เกิดการเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมบนท้องถนนที่ถูกต้องและ ปลอดภัยได้ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการขยายผลและส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในวงกว้างไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นโดยเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs และควรสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมในระหว่างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายออกแบบกิจกรรมที่ครอบคลุมมาตรการทางการศึกษา วิศวกรรม และการบังคับใช้กฎหมาย
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The study titled " Mobilizing Sustainable Development Goals ( SDGs) : A Case Study of Applying Participatory Democracy to Promote Road Safety in Thai Youth" is a pilot project for two educational institutions in Samut Prakan and Chai Nat provinces of Thailand. The goal is to analyze and recommend measures for reducing road traffic accidents involving youths in the study areas, which would contribute to achieving sustainable development goals. Altogether, 116 youths from the two educational institutions participated in the study and created projects through participatory process: planning, designing, implementing, and evaluating. Ten projects were implemented by the youths. It was found that the target groups could identify problems and create projects to promote road safety. Most projects involved educational and engineering measures aimed at increasing road safety. There was, however, a lack of projects that addressed regulatory or enforcement measures. The researchers also found that participatory democratic processes caused positive changes in traffic- accident- related attitudes and behaviors. The researchers suggested that participatory democratic processes should be applied with other target groups linked with SDG targets. To encourage comprehensive measures, conditions or requirements should be imposed on the participatory problem identification and project proposal processes so that participating groups undertake activities representing all 3E ( education, engineeri [+]
ผู้แต่ง ถวิลวดี บุรีกุล
นิตยา
โพธิ์นอก
เลิศพร
อุดมพงษ์
สมบัติ
หวังเกษม
หน่วยงาน สถาบันพระปกเกล้า
ผู้สนับสนุน สถาบันพระปกเกล้า
ผู้จัดพิมพ์ สถาบันพระปกเกล้า
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2019
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2562
จำนวนหน้า 223 หน้า
ประเภทเอกสาร รายงาน
คำสำคัญ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม; ความปลอดภัยทางถนน; การพัฒนาที่ยั่งยืน; อุบัติเหตุจราจร; การบังคับใช้กฎหมาย
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; ประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมาย; ปัญหาอุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; บทบาทและการมีส่วนของภาคเอกชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา http://www.kpi.ac.th/knowledge/research/data/378
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 09 สิงหาคม 2565