TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง ระบาดวิทยาการบาดเจ็บการเกิดอุบัติเหตุหมู่จากการจราจรทางถนนในประเทศไทย ปี พ.ศ.2549-2554
บทคัดย่อ (ไทย) การสอบสวนการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนกรณีที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก (อุบัติเหตุหมู่) ทำให้สามารถระบุปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนได้เป็นอย่างดี การสอบสวนอุบัติเหตุหมู่จากการจราจรทางถนนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจำนวน 5 เหตุการณ์โดยใช้ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ ข้อมูลด้านยานพาหนะ สถานที่และสิ่งแวดล้อมในที่เกิดอุบัติเหตุ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รอดชีวิต ผู้เห็นเหตุการณ์ และรวบรวมข้อมูลเอกสารทางการแพทย์ โดยใช้ Haddon’s matrix วิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตตามช่วงเวลา ตั้งแต่ก่อน ขณะ และหลังเกิดอุบัติเหตุใน 4 องค์ประกอบของการบาดเจ็บ ด้านคน ยานพาหนะ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ผลการศึกษา พบว่า อุบัติเหตุหมู่จากการจราจรทางถนน 5 เหตุการณ์ มีผู้ประสบเหตุทั้งหมด 113 ราย ยานพาหนะที่เกิดเหตุประกอบด้วยรถกระบะ 9 คัน รถจักรยานยนต์พ่วงข้าง 4 คัน และรถยนต์ รถทัวร์โดยสารประจำทาง หัวรถลากเทรเลอร์ 10 ล้อ และรถบรรทุกพ่วง 22 ล้อ อย่างละ 1 คัน มีผู้เสียชีวิต 10 ราย (ร้อยละ 8.8) และผู้บาดเจ็บ 81 ราย (ร้อยละ 71.7) ปัจจัยเสี่ยงด้านคน ได้แก่ ขาดประสบการณ์ในการขับขี่ หลับใน ขับขี่โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โดยสารบริเวณท้ายกระบะ ยืนบริเวณส่วนท้ายของรถกระบะโดยสาร ปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ ได้แก่ ดอกยางรถเสื่อมสภาพ ขาดอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย และปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่น ได้แก่ สภาพถนนเปียก ถนนลื่น ไม่มีป้ายเตือน แสงสว่างไม่เพียงพอ และปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความล่าช้าในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน การขาดอุปกรณ์ตัดถ่าง และข้อจำกัดในช่วยเหลือเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งหลายปัจจัยเสี่ยงสามารถป้องกันและ [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) -
ผู้แต่ง นันทพร กลิ่นจันทร์
ดุจฤดี
ชินวงศ์
Adrian
Sleigh
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2017
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2560
วารสาร Outbreak, Surveillance and Investigation Report
ปีที่ : 10

ฉบับที่ : 4
หน้า 1-8
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ อุบัติเหตุหมู่; อุบัติเหตุทางถนน; การสอบสวนการบาดเจ็บ; Haddon matrix
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เข็มขัดนิรภัย; ความอ่อนล้าหรือง่วงนอน; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การฝึกหัดขับขี่; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน; เครื่องหมายและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย; สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ถนน; ความปลอดภัยบริเวณข้างทาง (Roadside safety); การออกแบบและมาตรฐานความปลอดภัย ; อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การให้บริการหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; การสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์; อุบัติเหตุรถโดยสาร
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 02 พฤศจิกายน 2564