TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การประเมินภาระงานของการฝึกหัดขับรถยนต์โดยใช้โปรแกรมจำลองสถานการณ์
Workload assessment of driving practice using a simulation program
บทคัดย่อ (ไทย) ในปัจจุบันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นปัญหาสำคัญในระดับโลก สำหรับประเทศไทยพบว่า อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยสูงที่สุดอันดับหนึ่งในเอเชียและในอาเซียนมีผู้เสียชีวิตโดยเฉลี่ยสูงถึง 32.7 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ได้แก่ ผู้ขับขี่ ยานพาหนะ ถนนและสภาพแวดล้อม โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ คือ ผู้ขับขี่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการตรวจสอบภาระงานทางร่างกายและจิตใจในการขับรถยนต์ของผู้ที่มีประสบการณ์ในการขับขี่ (มีใบอนุญาตขับขี่) และผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการขับขี่ โดยใช้แบบจำลองการขับขี่ ซึ่งได้ทำการทดสอบด้วยเครื่องมือและซอต์ฟแวร์จำลองการขับรถยนต์ และทำการบันทึกเวลาในการขับ ความผิดพลาดในการขับ และพฤติกรรมการขับ จากนั้นทำการประเมินภาระงานทางจิตใจด้วยแบบประเมิน NASA-TLX การทดลองนี้ได้ทำการทดลองจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน ทั้งสิ้น 20 คน (มีประสบการณ์ 10 คน ไม่มีประสบการณ์ 10 คน) ช่วงอายุ 17-24 ปี โดยให้ผู้ทดลองใช้แบบจำลองการขับขี่ในโหมดการฝึกหัดขับรถยนต์ ซึ่งจะแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การขับรถโดยมีการบังคับเส้นทางในที่แคบ, การกลับรถ, การถอยหลังจอดเข้าที่แคบ แต่ละขั้นตอนจะทดลอง 3 ครั้ง จากการทดสอบสามารถแสดงให้เห็นถึงความผิดพลาด ความแตกต่างด้านเวลา ความแตกต่างของพฤติกรรมการขับรถ ของผู้ที่มีประสบการณ์ในการขับขี่และผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญ
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Today, road accidents are a major global problem. In Thailand, the death rate from road accidents is highest in Asia and ASEAN. The average death is 32.7 people per 100,000 people. The factors that cause road accidents are drivers, vehicles, roads, and the environment. The main factor that causes the accident is the driver. The objective of this research was to examine the mental workload of driver with experience (driving license) and inexperience (no driving license) using driving simulations. This research was tested with tools and software to simulate driving cars for recorded error driving (crash), driving behavior and assess the mental workload by NASA-TLX assessment. The sample consisted of 20 people (10 experienced and 10 inexperienced), age range 17-24 years. Experiments using a driving simulator in the driving training mode. The test is divided into 3 stages 1. Driving in narrow path 2. U-turn 3. Back and stop into a narrow path. This test can show the error of driving, time error, behavior of drivers with driving experience and inexperience.
ผู้แต่ง ประจวบ กล่อมจิตร
อลงกรณ์
ฉัตรเมืองปัก
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร วารสารการยศาสตร์ไทย
ปีที่ : 4

ฉบับที่ : 1
หน้า 68-76
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ ประสบการณ์ในการขับขี่; พฤติกรรมการขับรถ; ภาระงานทางจิตใจ; แบบจำลองการขับรถ NASA-TLX
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ใบขับขี่; การฝึกหัดขับขี่; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; แบบจำลองและการวิเคราะห์ปัจจัยของอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJE/article/view/249655
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 01 กรกฎาคม 2565