TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการฝ่าสัญญาณไฟแดง ณ ทางแยก ที่มีการตรวจจับการฝ่าสัญญาณไฟแดง: พื้นที่ศึกษา สามแยกท่าพระ จังหวัดขอนแก่น
Psychological Factors Influencing Red Light Running Intentions at the Junction with Red Light Camera Enforcement: A Case of Thapra Junction, Khon Kaen province
บทคัดย่อ (ไทย) พฤติกรรมการฝ่าสัญญาณไฟแดงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในบริเวณทางแยกที่มีการควบคุมโดยสัญญาณไฟจราจร สามแยกท่าพระ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นทางแยกหนึ่งที่ประสบปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจากพฤติกรรมการฝ่าสัญญาณไฟแดง ด้วยเหตุนี้จังหวัดขอนแก่นจึงดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยใช้มาตรการตรวจจับผู้ขับขี่ที่ฝ่าสัญญาณไฟแดงจากรูปถ่ายโดยกล้อง CCTV ซึ่งหลังจากมีการดำเนินมาตรการฯ ทำให้จำนวนอุบัติเหตุ จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายปัจจัยทางจิตวิทยาการจราจรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการฝ่าสัญญาณไฟแดงของผู้ขับขี่โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน รวมถึงประเมินความเชื่อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรมการฝ่าสัญญาณไฟแดง การศึกษานี้สำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 201 ตัวอย่าง วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์โดยใช้แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างตามหลักของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจในการฝ่าสัญญาณไฟแดงได้ร้อยละ 33 สำหรับปัจจัยหลัก และร้อยละ 52 เมื่อเพิ่มปัจจัยพฤติกรรมในอดีตและส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญต่อความตั้งใจในการฝ่าสัญญาณไฟแดงของทั้งสองแบบจำลอง สำหรับด้านความเชื่อและปัจจัยควบคุมพฤติกรรม พบว่าความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ความเร็วสูงเมื่อเข้าสู่ทางแยก ระยะเวลาของช่วงสัญญาณไฟเหลือง รวมถึงการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรแบบแสดงตัวเลขนับถอยหลัง และการติดตั้งกล้อง CCTV มีสัดส่วนคะแนนที่มีผลต่อพฤติกรรมการฝ่าสัญญาณไฟแดงเป็นลำดับต้น ผลจากการศึกษานี้ช่วยให้เข้าใจความตั้งใจต่อพฤติกรรมการฝ่าไฟแดงมากยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามาตรกา [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Red-light running behavior is the main cause of vehicle crashes at the intersections controlled by traffic signal. Thapha junction in municipality of Thapha, Mueang district, Khon Kaen province, is an intersection with a significant number of red-light running incidents. The Khon Kaen authorities responsible for reducing traffic accidents have attempted to address this problem by introducing red-light cameras (i.e. photo enforcement systems at intersections). These measures considerably reduced the number of traffic accidents, leading to a significant reduction in injuries and deaths. The purpose of this study was to examine the psychological factors that influence the intention of red-light running, using the Theory of Planned Behaviour (TPB), as well as to evaluate beliefs and control factors that affect red-light running behavior. Data for this study was collected from 201 respondents by questionnaire. Structural Equation Models (SEM) were used to examine and explain red-light running intentions following TPB principles. The results indicated that models could explain the variance by intentions of red-light running at 33% for TPB factors, and by 52% for extended TPB. The most significant psychological factors were determined by perceived behavioral control (PBC) of both models. Approach speed, yellow timing, count down signal and red-light cameras had the top scores in the evaluation of factors affecting red-light running behavior. The outcome of this study could lead to g [+]
ผู้แต่ง พงษ์พันธ์ แทนเกษม
ปิยณัฐ
จันโทสุทธิ์
ธเนศ
เสถียรนาม
ชัยชาญ
ยุวนะศิริ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2018
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2561
วารสาร วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปีที่ : 20

ฉบับที่ : 1
หน้า 143-157
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ อุบัติเหตุจราจร; ฝ่าสัญญาณไฟแดง; ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน; ความตั้งใจ; ปัจจัยด้านจิตวิทยา
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; การใช้ความเร็ว; การฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; กฎหมายจราจร; เทคโนโลยีของการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; แบบจำลองและการวิเคราะห์ปัจจัยของอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/182723
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 03 สิงหาคม 2565