TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชนกลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
Capacity Building the Community Emergency Volunteer Teams in Khon Kaen University
บทคัดย่อ (ไทย) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้วงจรต่อเนื่องกัน 4 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (Plan : P) จัดประชุมร่วมกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ค้นหาปัญหาและแก้ไขในการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งพบปัญหา การบริการล่าช้า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขาดทักษะและความมั่นใจในการช่วยเหลือผู้ป่วย (2) การปฏิบัติ (Act : A) จัดทำแผนที่ถนนและแนวทางการแจ้งเหตุไปใช้จริง และพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชนให้กลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (3) การสังเกตผล (Observe : O) นำข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการมาวิเคราะห์และ (4) การสะท้อนผล (Reflect : R) นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาสะท้อนผลแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์ของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินจำนวน 20 คน จากหน่วยปฐมภูมิ จำนวน 10 คน และกลุ่มกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชนจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำนวน 50 คน นักศึกษา จำนวน 20 คน รวมจำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า หลังการพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีความรู้สูงขึ้น แต่คะแนนทดสอบก่อนอบรมและหลังอบรม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมเล็กน้อย เนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีการอบรมฟื้นฟูทุกปี ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พบว่า กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.59, S.D.=0 [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This was an applicable research with continuous 4-steps process which were: (1) planning (P) is a consensus from emergency medical service providers, health care providers from primary care unit and security guards. Identify problems and solutions regarding to service of traffic accident patients at the scene, the first responding security guard was lacking of skills and confident to assist the patient. The second step was acting (A); road map and notification guidelines were created and implement, arrange groups among community volunteer for security guard and students. Then the third step observation (O); the data obtained and analyzed, and finally reflection (R). The results of the data analysis are reflected in the exchange of learning with the stakeholders. Population of study was (20) emergency medical service providers (10) health care providers from primary care unit, (50) security guard and (20) students. All data were analyzed by descriptive and analytical statistics. After development of community emergency volunteers, security personnel improve their knowledge with pre-training and post-test scores but there was no statistically significant difference at 0.05 level after training due to security guards usually trained every year. The data related to the caregivers' modeling were obtained from two groups which were the health care provider and community emergency volunteers. There were statistically significant differences at the 0.05 level between the first group [+]
ผู้แต่ง กัญญา วังศรี
รานี
แสงจันทร์นวล
มรกต
สุบิน
พนอ
เตชะอธิก
กรกฎ
อภิรัตน์วรากุล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2019
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2562
วารสาร วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
ปีที่ : 6
หน้า 75-86
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ อาสาฉุกเฉินชุมชน; เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย; การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การให้บริการหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jpr2r/article/view/141989
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 16 สิงหาคม 2565