ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี Performance Efficiency Development of Traffic Police Officers, Chonburi Provincial Police |
บทคัดย่อ (ไทย) |
ปัญหาการจราจรของจังหวัดชลบุรีเกิดจากเส้นทางเศรษฐกิจ มีอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ส่งผลให้การจราจรติดขัดปริมาณมาก นำมาซึ่งการเกิดอุบัติเหตุจนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มปัญหาและภาระงานในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมากยิ่งขึ้น รวมถึงการกำกับดูแลช่วยเหลือประชาชนไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่รับผิดชอบ การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร โดยใช้วิธีศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับข้าราชการตำรวจจราจร จำนวน 211 คน การวิเคราะห์แบบสถิติพรรณนา ประกอบการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มผู้บริหารกำหนดนโยบาย ผู้บริหารควบคุมการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชน รวม 21 คน ผลการศึกษาพบว่า ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ด้านเวลาในการพัฒนาวิธีการทำงานใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็วมีประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมา คือ ด้านคุณภาพงาน ด้านค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน และด้านปริมาณงานที่ได้รับมอบหมายปริมาณงานจำนวนมาก แต่คุณภาพของงานต่ำ มีประสิทธิภาพต่ำสุด ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 7 ตัวแปร คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ทำงาน ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านความยุติธรรม ในองค์กร และด้านภาวะผู้นำ พบว่าด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ทำงานมีความคิดเห็นสูงสุด เพราะการทำงานของตำรวจ มีการแบ่งหมวดหมู่ ทำงานเป็นทีม มีความรักความผูกพันกัน ความเป็นพี่เป็นน้อง ความเคารพอาวุโสรุ่นพี่ จึงมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขณะที่ด้านภาวะผู้นำมีความคิดเห็นต่ำสุด เนื่องจากตำรวจปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเป็นหลัก การสั่งการ การตัดสินใจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชา ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่องการจราจรเป็นอย่างดี รับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสะท้อนปัญหาอย่างแท้จริง นำมาสู่การปรับปรุงแก้ไข ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภา
[+][-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
Chonburi traffic problem was founded on the growth of economic, industry and tourist attraction. The traffic problem leads to huge accidents, deaths and injuries from road users causing more problems and workload of the traffic police officers resulting in not being able to widely support citizens in responsible areas. The objectives of this research are to study the performance efficiency and the effective performance factors of traffic police officers by using mixed methods, 211 questionnaires from traffic police officers. Correlation Analysis and Multiple Regression Analysis were used for descriptive statistics. In-depth interview of 21 persons from management policy maker, management operation control officers, operating officers and service citizens were used for qualitative research. The result of performance efficiency level of traffic police officers found that time of development new method for improvement was highest efficiency. The factors that affect the performance efficiency consists of 7 variables which are the human relations at work, organizational culture, internal environment, personal development, job satisfaction, corporate justice and leadership. The human relation at work had the highest opinions because the police work was categorized into teamwork, relationship, seniority and respect. Therefore they help each other. In contrast, leadership had the lowest opinions because the police officers worked under command, supervision and decision making by a commander. Therefore the commander must have knowledge, well competency in traffic management and get opinion feedback from workers for real problems in order to correct and improve and comply with effective environment and situations
[+][-] |
ผู้แต่ง |
เกรียงไกร เพิ่มพูลทรัพย์
ไชยา ยิ้มวิไล
|
วารสาร |
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ
ปีที่ : 8
|
คำสำคัญ |
การพัฒนา; ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน; เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร; การเกิดอุบัติเหตุ |
หมวดหมู่ |
ประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน |