TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง
Factors Related to Motorcycle Traffic Accidents among University Students in Lampang Province
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดลำปาง จำนวน 240 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้และความตระหนัก แรงสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ และข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ มีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Statulator แบบ Two sample comparison of proportion มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วย KR-20 และ Cronbach’s Alpha coefficient มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ไคสแควร์ และสถิติการถดถอยโลจิสติก จากการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ (p-value =.028) สภาพอุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ (p-value =.002) ทำ พ.ร.บ. รถประจำปี (p-value = .037) ส่วนปัจจัยทางกายภาพไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสถิติ 2) ปัจจัยเกี่ยวกับคณะที่กำลังศึกษา (p-value = .010) ประสบการณ์การขับขี่รถจักรยานยนต์ (p-value = .004) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี (95%CI = 1.17-3.77) ผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 2 (95%CI = 2.00-10.72) และชั้นปีที่ 3 (95%CI = 1.81-10.02) มีประสบการณ์เคยขับขี่รถจักรยานยนต์ (95%CI = 1.45-10.55) ขับข [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) A cross-sectional study was conducted to determine factors related to accident prevention behavior and factors influencing motorcycle accidents university students in Lampang Province. 240 participants included 85 cases and 155 controls. Data was collected by questionnaire, including demographic information, knowledge, awareness, social support, personal driving behavior, and number of traffic accidents. Sampling used the program named Statulator with Two sample comparison of proportion. Questionnaires were quality checked, including content validation by experts and validated by KR-20. Reliability was calculated by measuring internal consistency in term of Cronbach’s alpha method. Data was analyzed by average, standard deviation, percent, chi-square, and regression. The study found that 1) predisposing, reinforcing, and enabling factors associated with motorcycle accident preventive behavior included accident prevention awareness (p-value =.028), motorcycle equipment (p-value =.002), and annual compulsory motor insurance and vehicle tax (p-value = .037), 2) also faculty (p-value = .010), driving experience (p-value = .004) were the factors related to preventive behavior, and 3) factors associated with motorcycle accidents included student status aged over 20 (95%CI = 1.17-3.77), participants in their second (95%CI=2.00-10.72) and third study years (95%CI=1.81-10.02), driving experience (95%CI=1.45-10.55), long driving stints (95%CI=1.40-5.72), and motorcycle service life [+]
ผู้แต่ง พัชร์สิริ ศรีเวียง
กษมา
ภูสีสด
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2022
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2565
วารสาร วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ปีที่ : 14

ฉบับที่ : 2
หน้า 20-38
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ อุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์; พฤติกรรมการป้องกัน; จุดเสี่ยง ; นักศึกษามหาวิทยาลัย
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย; การทดสอบความปลอดภัยของยานพาหนะ; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/245603
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 27 มกราคม 2566