TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง แบบจำลองสมการโครงสร้างสำหรับการวิเคราะห์อุบัติเหตุทางถนน กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต
Structural equation modeling for road crash analysis: Phuket case study
บทคัดย่อ (ไทย) การจัดการอุบัติเหตุทางถนนด้วยมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิผล ต้องทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดและความรุนแรงของอุบัติเหตุทางถนน บทความนี้ประยุกต์ใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ศึกษาจังหวัดภูเก็ต ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านถนน (การไม่มีอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย ความลาดชันของถนน และถนนทางหลวง) และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (ถนนเปียกและสภาพอากาศไม่สดใส) ส่งผลต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุ (จำนวนผู้ประสบเหตุและจำนวนยานพาหนะที่เกี่ยวข้อง) อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในแง่วิธีการศึกษา บทความนี้ได้แสดงการประยุกต์ใช้แบบจำลองสมการโครงสร้างที่สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดและความรุนแรงของอุบัติเหตุทางถนนได้
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Managing road accidents by designed effective countermeasures needs to know factors influencing occurrence and severity of crashes. This article applies the Structural Equation Model (SEM) to identify factors affecting severity of crashes by using crash data in Phuket province, as a study area. The results show that road factors (no safety device, slope, and highway) and environmental factors (wet road surface and unclear weather) significantly affect the crash severity. Moreover, in terms of analysis method, this paper presents the application of the SEM for identifying the factors influencing the occurrence and severity of road crashes.
ผู้แต่ง อาริฟ ศิริวัฒน์
ปรเมศวร์
เหลือเทพ
สิทธา
เจนศิริศักด์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ.
ปีที่ : 14

ฉบับที่ : 2
หน้า 38-51
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ ความรุนแรงของการชน; อุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์อุบัติเหตุ; แบบจำลองสมการโครงสร้าง; การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน
หมวดหมู่ การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน; เครื่องหมายและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย; สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ถนน; ความปลอดภัยบริเวณข้างทาง (Roadside safety); การออกแบบและมาตรฐานความปลอดภัย ; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; แบบจำลองและการวิเคราะห์ปัจจัยของอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/eng_ubu/article/view/244467
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 01 มิถุนายน 2565