ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่จักรยานยนต์ ของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก Factors Predicting Safety Behaviors In Motorcycle Riding Among Male Senior High School Students In The Eastern Region |
บทคัดย่อ (ไทย) |
ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นอันดับหนึ่งของโลกโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นชาย อายุ 15-19 ปี มีอัตราสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่จักรยานยนต์ของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 139 ราย ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การรับรู้ของบุคคล ประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ การรับรู้ประโยชน์ของการขับขี่จักรยานยนต์ปลอดภัย การรับรู้อุปสรรคของการขับขี่จักรยานยนต์ปลอดภัย ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .75 .80 .73 .64 ตามลำดับ 3) ประสบการณ์การขับขี่จักรยานยนต์ ประกอบด้วย ประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุ ประสบการณ์ทำผิดกฎจราจร 4) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย นโยบายโรงเรียนด้านการขับขี่จักรยานยนต์ปลอดภัย สภาพวินัยจราจรบนถนน อิทธิพลของครอบครัว อิทธิพลของเพื่อน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 .80 .87 .87 ตามลำดับ และ 5) พฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่จักรยานยนต์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการขับขี่จักรยานยนต์ปลอดภัย อิทธิพลของครอบครัว และอิทธิพลของเพื่อน เป็นปัจจัยร่วมทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่จักรยานยนต์ได้ ร้อยละ 32.8 (R2.= .328, F = 8.52, p < .01) พยาบาลชุมชนจึงควรเสริมสร้างการรับรู้ประโยชน์ของการขับขี่จักรยานยนต์ปลอดภัย สร้างกลุ่มพลังเพื่อนดี และให้ความรู้ความเข้าใจกับครอบครัวให้ร่วมกระตุ้นเตือนนักเรียนชายมีพฤติกรรมขับขี่จักรยานยนต์ปลอดภั
[+][-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
Thailand has the highest mortality rate from motorcycle riding in the world. Particularly in Thailand, male adolescent aged between 15-19 was found to have the highest mortality rate from this cause. The purpose of this research was to examine the predicting factors for motorcycle riding behavior among male senior high school students in eastern region. Multi-stage random sampling used to recruit the simple of 139 male senior high school students riding motorcycle to school in the eastern region. Research instrument was self-administrative questionnaires 5 parts as well as, 1) the questionnaire of personal information, 2) perceived of people to consist of perceived susceptibility to accident, perceived severity to accident, perceived benefits to safety behavior, perceived barrier to safety behavior. There were reliabilities of Cronbach’s alpha of .75 .80 .73 .64 respectively, 3) the questionnaire of Motorcycle driving experience, 4) environmental factors and cues to action to consist of experiences traffic violations, safety driving school policy, the road traffic of discipline, influence of family, influence of friends. There were reliabilities of Cronbach’s alpha of .90, .80, .87, .87 respectively and 5) the safety behavior of motorcycles questionnaire was reliabilities of Cronbach’s alpha of .75 respectively. The data were analyzed by using both descriptive statistics as well as inferential statistics that is multiple regression analysis.
Results revealed that factors influencing predictors were perceived benefits for safety behavior, the family influence and the influence of friends to predicted the safety behavior of motorcyclists 32.8% (R2 = .328, F = 8.52, p < .01). Therefor community nurses should enhance the perception benefits of safe motorcycle riding. Friends and family are participating to keep male student’s safety behavior motorcycle riding.
[+][-] |
ผู้แต่ง |
กมลวรรณ คุ้มวงษ์
นิสากร กรุงไกรเพชร
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
|
วารสาร |
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ : 27
ฉบับที่ : 4 |
คำสำคัญ |
พฤติกรรมความปลอดภัย; การขับขี่จักรยานยนต์; มัธยมศึกษาตอนปลาย; ภาคตะวันออก |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การฝึกหัดขับขี่; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; กฎหมายจราจร; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ |