ชื่อเรื่อง |
การบูรณาการ การสร้างเสริมสุขภาพและปัญญาประดิษฐ์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย The Integration of Health Promotion and Artificial Intelligence to Helmet Wearing Behavior Modification |
บทคัดย่อ (ไทย) |
โรงพยาบาลศิริราช เป็นหน่วยงานกำกับของรัฐและเป็นสถานที่ให้บริการทางการแพทย์ โดยมีบุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก พบว่าปัญหาความปลอดภัยด้านการจราจรในโรงพยาบาลศิริราชเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากการเดินทางของบุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้รถจักรยานยนต์ จึงจัดโครงการ “ศิริราชรณรงค์สวมหมวกนิรภัย” ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อันเนื่องมาจากการขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย ภายในเขตพื้นที่โรงพยาบาล เพื่อร่วมเสริมสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และตระหนักถึงความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัย บทความนี้ เพื่อแสดงถึงการดำเนินโครงการโดยใช้องค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การประกาศวิสัยทัศน์และนโยบาย การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ การพัฒนาและสนับสนุนทรัพยากร การพัฒนาชุมชนและเครือข่ายที่เข้มแข็งและการปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพในบุคลากร นักศึกษา และผู้รับบริการเพื่อให้ได้รับความปลอดภัยจากการขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ ประกอบกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการติดตามพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยในพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช และส่งผลให้เกิดระบบการติดตามผลของการเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความน่าเชื่อถือ และใช้ระยะเวลาวิเคราะห์ข้อมูลเพียงไม่นาน ซึ่งถือว่าข้อมูลที่วิเคราะห์มามีความสำคัญและเป็นภาพรวมของคณะ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสวมใส่หมวกนิรภัยต่อไป ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถนำแนวคิดวิธีการไปสู่การขยายผลในบริบทที่เกี่ยวข้องได้
[-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
Siriraj Hospital is a public medical institution offering health care service for university staff, students and also the general public. Increasing volume of traffic in the hospital area leads to traffic control and safety problems, especially from motorcycles. To response to these problems, Siriraj Health Promotion Division has introduced “We Care We Save” campaign since 2019 to prevent the risks of traffic accidents caused by riding motorcycles without safety helmets in the hospital area. The main purposes of this campaign are to promote traffic safety protocols and to facilitate the drivers to recognize the benefits of wearing safety helmets. To strive for an accident-free environment, this article demonstrated the five core components of health promotion model according to the First International Conference on Health Promotion held in Ottawa: building of healthy policy, creation of supportive environments for health, strengthening of community actions for health, development of personal skills, and reorientation of health services. Furthermore, artificial intelligence (AI) was used as one of the effective tools to track changes in helmet use behavior. The result of this study represented the important data analysis that could be used for improving safety helmet wearing behavior. Finally, the result from this study is allowed for modification and use according to various contexts from all of interested personnel.
[-] |
ผู้แต่ง |
ธนรัช เป้าชัง
ภัทรานุช นามดี
เจษฎา สุวรรณวารี
ปิยะฤทธิ์ อิทธิชัยวงศ์
กมลวรรณ วรรณขำ
|
วารสาร |
วารสารเวชบันทึกศิริราช
ปีที่ : 15
ฉบับที่ : 4 |
คำสำคัญ |
หมวกกันน็อค; ปัญญาประดิษฐ์; การสร้างเสริมสุขภาพ |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; หมวกนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ |